วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ฟังก์ชันกำลังสอง

1.3  ฟังก์ชันกำลังสอง
1.3.1  กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง
           ฟังก์ชันกำลังสอง  คือ  ฟังก์ชันที่อยู่ในรูป  เมื่อ  a,b,c  เป็นจำนวนจริงใดๆ  และ ลักษณะของกราฟของฟังก์ชันนี้ขึ้นอยู่กับค่าของ  a , b  และ  c  และเมื่อค่าของ  a  เป็นบวกหรือลบ  จะทำให้ได้กราฟเป็นเส้นโค้งหงายหรือคว่ำ 
ดังรูป...อ่านต่อ

ฟังก์ชันเชิงเส้น

 1.2 ฟังก์ชันเชิงเส้น   คือ ฟังก์ชันที่อยู่ในรูป y = ax+b เมื่อ a ,b เป็นจำนวนจริง และ  กราฟของฟังก์ชันเชิงเส้นจะเป็นเส้นตรง...อ่านต่อ

ความสัมพันธ์และฟังชั่น

...อ่านต่อ

การนำสมบัติของจำนวนจริงไปใช้ในการแก้สมการกำลังสอง

การนำสมบัติของจำนวนจริงไปใช้ในการแก้สมการกำลังสอง
ตัวแปร : อักษรภาษาอังกฤษตัวเล็ก เช่น x , y ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนจำนวน
ค่าคงตัว : ตัวเลขที่แททนจำนวน เช่น 1, 2
นิพจน์ : ข้อความในรูปสัญลักษณื เช่น 2, 3x ,x-8 ,
เอกนาม : นิพจน์ที่เขียนอยู่ในรูปการคูณของค่าคงตัวแปรตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปที่...อ่านต่อ

สมบัติจำนวนจริงเกี่ยวกับการบวกและการคูณ

จำนวนตรรกยะ (rational number) เป็นจำนวนจริงที่สามารถเขียนได้ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็มที่ตัวส่วนไม่เป็นศูนย์ และเขียนในรูปทศนิยมซ้ำได้...อ่านต่อ

จำนวนจริง

จำนวนจริง
เซตของจำนวนจริงประกอบด้วยสับเซตที่สำคัญ  ได้แก่
- เซตของจำนวนนับ/ เซตของจำนวนเต็มบวก...อ่านต่อ

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

    การให้เหตุผลแบบนิรนัยเป็นการนำความรู้พื้นฐานซึ่งอาจเป็นความเชื่อ ข้อตกลง กฎ หรือบทนิยาม ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อน และยอมรับว่าเป็นความจริงเพื่อหาเหตุผลนำไปสู่ข้อสรุป เป็นการอ้างเหตุผลที่มีข้อสรุปตามเนื้อหาสาระที่อยู่ภายในขอบเขตของข้ออ้างที่กำหนด...อ่านต่อ

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning) เกิดจากการที่มีสมมติฐานกรณีเฉพาะ หรือเหตุย่อยหลายๆ เหตุ เหตุย่อยแต่ละเหตุเป็นอิสระจากกัน มีความสำคัญเท่าๆ กัน และเหตุทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีเหตุใดเหตุหนึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นสมมติฐานกรณีทั่วไป หรือกล่าวได้ว่า การให้เหตุผลแบบอุปนัยคือการนำเหตุย่อยๆ แต่ละเหตุมารวมกัน เพื่อนำไปสู่ผลสรุปเป็นกรณีทั่วไป เช่นตัวอย่างการให้เหตุผลแบบอุปนัยอ่านต่อ...

วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ยูเนียน อินเตอร์เซกชั่นและคอมพลีเมนต์ของเซต

ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน และคอมพลีเมนต์ของเซต เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำระหว่างเซต เรานิยมเขียนออกมาในสองรูปแบบด้วยกันคือแบบสมการ และแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ เราลองมาดูกันครับว่ายูเนียน อินเตอร์เซกชัน และคอมพลีเมนต์ของเซต เป็นอย่างไรพร้อมตัวอย่าง

ยูเนียน (Union)

ยูเนียน (Union) มีนิยามว่า เซต A ยูเนียนกับเซต B คือเซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A หรือ เซต B หรือทั้ง A และ B สามารถเขียนแทนได้ด้วย สัญลักษณ์ A ∪ B
ตัวอย่างเช่น
A ={1,2,3}
B= {3,4,5}
∴ A ∪ B = {1,2,3,4,5}
เราสามารถเขียนการยูเนี่ยนลงในแผนภาพได้ดังนี้
union

อินเตอร์เซกชัน (Intersection)

อินเตอร์เซกชัน (Intersection) มีนิยามคือ เซต A อินเตอร์เซกชันเซต B คือ เซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A และเซต B สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A ∩ B
ตัวอย่างเช่น
A ={1,2,3}
B = {3,4,5}
∴ A ∩ B = {3}
เราสามารถเขียนการอินเตอร์เซกชันลงในแผนภาพได้ดังนี้
intersection

คอมพลีเมนต์ (Complements)

คอมพลีเมนต์ (Complements) มีนิยามคือ ถ้าเซต A ใดๆ ในเอกภพสัมพัทธ์ U แล้วคอมพลีเมนต์ของเซต A คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของ U แต่ไม่เป็นสมาชิกของ A สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A’
ตัวอย่างเช่น
U = {1,2,3,4,5}
A ={1,2,3}
∴ A’ = {4,5}
 เราสามารถเขียนการคอมพลีเมนต์ของเซตลงในแผนภาพได้ดังนี้
complement

เซต


เซต เป็นคำใหม่ที่เราจะรู้จักตอนเรียน ม.4 ซึ่งจริง ๆ แล้ว เซต ก็คือ การบอกลักษณะที่เป็นกลุ่มของอะไรสักอย่าง เช่น เซตของจำนวนเฉพาะ หมายถึง กลุ่มของจำนวนเฉพาะ ดังนั้น สิ่งที่อยู่ในเซตนี้จะต้องเป็นจำนวนเฉพาะเท่านั้น เช่น 3 อยู่ในเซตของจำนวนเฉพาะ แต่ 4 ไม่อยู่ในเซตของจำนวนเฉพาะ
ซึ่งการอยู่ในเซต เรียกว่า เป็นสมาชิก สัญลักษณ์ คือ 
และถ้าไม่อยู่ในเซต เรียกว่า ไม่เป็นสมาชิก สัญลักษณ์ คือ 
นอกจากนี้ เซต มีความพิเศษอีกหนึ่งอย่าง คือ เมื่อมีของสองชิ้นเหมือนกันทุกประการจะถือว่าของสองชิ้นนั้นเป็นชิ้นเดียวเท่านั้น เช่น ถึงแม้ว่าเราจะใส่เลข 3 ลงไปในเซตของจำนวนเฉพาะเป็นจำนวน 4   ตัว เราก็จะถือว่ามีเลขสามเป็นสมาชิกแค่ตัวเดียวเท่านั้น และ ในเซต เราไม่คำนึงถึงว่าอะไรจะมาก่อนหรือหลัง 

การเขียนเซต

ในการเขียนเซตนั้นเราจะใช้เครื่องหมาย {} แทนเซต และใส่สมาชิกที่ต้องการไว้ข้างใน โดยใช้เครื่องหมาย , คั้นระหว่างสมาชิก เช่น {1,2,3,} หมายถึง เซตของ 1,2 และ 3
การเขียนเซตในโรงเรียนจะแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
1. การเขียนเซตแบบแจกแจงสมาชิก
เป็นการเขียนแบบที่สามารถเห็นสมาชิกในเซตเป็นตัว ๆ ได้เลย และบอกได้ทันทีว่าอะไรอยู่ในเซตนั้นบ้าง เช่น {2,4,6,8}
2. การเขียนเซตแบบมีเงื่อนไข
การเขียนเซตแบบมีเงื่อนไข จะใช้สัญลักษณ์ {} แทนเซตเหมือนกัน แต่สิ่งที่ใส่ลงไปจะไม่ใช้สมาชิกรายตัว แต่เป็นเงื่อนไขของการเป็นสมาชิก เช่น
{x|x เป็นจำนวนนับที่น้อยกว่าเท่ากับ 5}
เครื่องหมาย | จะแทนคำว่า โดยที่ หรือ คำว่า เมื่อ และ x จะเป็นตัวแปรที่แทนสิ่งที่จะอยู่ในเซตนี้ ดังนั้นเซตนี้ อ่านว่า เซตของ xโดยที่ x เป็นจำนวนนับที่น้อยกว่าเท่ากับ 5 ซึ่งจะได้ว่าสมาชิกในเซตนี้คือ 1,2,3,4 และ 5

ในโรงเรียนจะแบ่งการเขียนเซตออกเป็น 2 ประเภทนี้เท่านั้น แต่พี่จะแนะนำการเขียนเซตอีกแบบ นั้นคือ การเขียนเซตแบบเป็นรูปภาพ ซึ่งปกติแล้ว ในโรงเรียนจะสอนเรื่องนี้อยู่ในหัวข้อ แผนภาพ เวนน์-ออยเลอร์ (Venn-Euler Diagram) ซึ่งการเขียนเซตด้วยภาพนั้น คือ การวาด รูปอะไรสักรูปที่เป็นรูปปิด ไม่ว่าจะเป็นวงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม หรือรูปอื่น ๆ ขอแค่เป็นรูปที่สามารถบอกได้ว่าส่วนไหนเรียกว่าข้างใน ส่วนไหนเรียกว่าข้างนอก แล้ว นำสมากชิกของเซตนั้นไปเขียนไว้ข้างในรูปนั้น เช่น {1,2,3,4,5} ถ้าต้องการเขียนเป็นภาพ จะได้
นอกจากนี้ เราจะมีการให้ชื่อเซต หรือ สัญลักษณ์แทนเซต เช่นถ้าเรามี {1,2,3,4,5} ถ้าเราต้องการพูดถึงเซตนี้บ่อย ๆ จะทำให้ยุ่งยากในการกล่าวถึง และสับสนได้ง่าย ดังนั้นเราจะให้ชื่อเซต โดยบอกว่า A={1,2,3,4,5} และหลังจากนี้เราจะเรียกแค่ เซต A เท่านั้น 
ในการให้ชื่อเซตนั้น ควรเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่ เพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกันและเป็นสากล

จำนวนสมาชิกในเซต

ในการหาจำนวนสมาชิกในแต่ละเซตก็คือ การหาว่าในเซตนั้นมีสิ่งที่อยู่ข้างในกี่ตัวเท่านั้นเอง เช่น
จำนวนสมาชิก ของ {2,4,6,8} คือ 4

จำนวนสมาชิกของเซต A ใช้สัญลักษณ์ n(A)

เซตจำกัด เซตอนันต์

นอกจาการแบ่งเซตตามประเภทการเขียนเซตแล้ว ยังมีการแบ่งเซตตามจำนวนสมาชิกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. เซตจำกัด
เซตจำกัด คือ เซตที่สามารถนับจำนวนสมาชิกได้ ไม่ว่าจะนับออกมาเป็นจำนวนอะไรก็ตาม รวมถึง เซตที่มีจำนวนสมาชิกเป็น 0 ก็ถือว่าเป็นเซตจำกัดเหมือนกัน
เซตที่มีจำนวนสมาชิกเป็น 0 เรียกว่า เซตว่าง สัญลักษณ์คือ 
2. เซตอนันต์
เซตอนันต์ คือ เซตที่มีสมาชิกเยอะมากจนนับไม่ได้ หรือ บอกไม่ได้ว่าสมาชิกเป็นเท่าไหร่กันแน่ เช่น
{1,2,3,4,5,}
เราจะไม่สามารถบอกได้ว่าสมาชิกมีเท่าไหร่กันแน่ ดังนั้น ถ้าเขียนเซตแบบแจกแจงสมากชิกแล้วมี  อยู่ที่หัวหรือท้ายเซต จะเป็นเซตอนันต์

แต่จะต้องระวัง ไม่ใช่ว่าเจอ  แล้วจะเป็นเซตอนันต์เสมอ เช่น {1,2,3,,9,10} เซตนี้ มีจำนวนสมาชิกเท่ากับ 10 ดังนั้น เซตนี้จะต้องเป็นเซตจำกัด

การเท่ากันของเซต

เซตที่จะเท่ากัน คือ เซตที่เหมือนกันทุกอย่าง นั้นคือ มีจำนวนสมาชิกเท่ากัน และ สมาชิกทุกตัวเหมือนกัน
เช่น 
{1,2,3,4,5} เท่ากับ {2,1,1,3,5,4}
เนื่องจากเราเคยบอกแล้วว่าในเซต ถ้ามีสมาชิกที่เหมือนกันทุกอย่างให้นับเป็นสมาชิกเพียงหนึ่งตัวเท่านั้น ดังนั้นทั้งสองเซตมีสมาชิกเท่ากัน คือ 5 และ ในเซตเราไม่คำนึงถึงว่า อะไรมาก่อนมาหลัง แต่ทั้งสองเซตประกอบด้วยเลข 1,2,3,4 และ 5 เหมือนกัน จึงได้ว่าเซตทั้งสองเซตนี้เท่ากัน

ยูนิเวอร์ส

เวลาเราพูดสิ่งกลุ่มของอะไรสักอย่าง จะต้องมีการบอกขอบเขต เช่น เวลาพูดถึงกลุ่มของผู้หญิง ก็จะต้องดูว่าเรากำลังพูดกลุ่มของผู้หญิงจากกลุ่มใหญ่กลุ่มไหน เช่น กลุ่มของผู้หญิง จาก นักเรียนในห้องหนึ่ง จะได้ว่ากลุ่มที่่ใหญ่ที่สุดที่เป็นขอบเขตในการกล่าวถึงกลุ่มอื่น ๆ ในทีนี้คือนักเรียนทั้งหมดในห้องหนึ่ง
ดังนั้น ยูนิเวอส์ ก็คือ ขอบเขตในการกล่าวถึงกลุ่มต่าง ๆ  หรือ เซตต่าง ๆ โดยสมาชิกในเซตต่าง ๆ ที่กล่าวถึงนั้นจะต้องอยู่ภายใต้ ยูนิเวอส์ นั้น ๆ

ฟังก์ชันกำลังสอง

1.3   ฟังก์ชันกำลังสอง 1.3.1   กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง            ฟังก์ชันกำลังสอง  คือ  ฟังก์ชันที่อยู่ในรูป   เมื่อ   a,b,c   เป็นจำน...